ความ สามัคคีและปรองดอง
เป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญ และเป็นประเด็นที่ทรงสอดแทรกไว้ในพระบรมราโชวาท
และพระราชดำรัสที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ หลายครั้ง รวมทั้งได้ทรงถือปฏิบัติไว้ในหลักการทรงงาน
ดังจะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับเรื่อง “รู้ รัก สามัคคี” มาอย่างต่อเนื่อง โดยทรงเน้นย้ำว่า
เป็นคำ 3 คำที่มีค่าและความหมายลึกซึ้ง
พร้อมปรับใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย โดยได้ทรงอธิบายความหมายในแต่ละคำ ดังนี้
รู้ หมายถึง การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้นจะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด
รู้ถึงปัญหา รู้ถึงสาเหตุและรู้ถึงวิธีการแก้ปัญหา
รัก หมายถึง ความรัก เมื่อเรารู้ครบถ้วนกระบวนความแล้ว จะต้องมีความรักที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ไขปัญหานั้นๆ
สามัคคีหมายถึง การที่จะลงมือปฏิบัตินั้น ควรคำนึงเสมอว่าเราจะทำงานคนเดียวไม่ได้
ต้องทำงานร่วมมือร่วมใจเป็นองค์กร เป็นหมู่คณะ
จึงจะมีพลังเข้าไปแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี
ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ จากการศึกษาเรื่องความสามัคคีและปรองดองจากหลักการทรงงานแล้ว
ในพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทที่พระราชทานในโอกาสต่างๆ ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งเกี่ยวกับเรื่องความสามัคคีและปรองดองว่า
เป็นเสมือนพื้นฐานสำคัญที่จะสามารถสร้างพลังแห่งความเป็นเอกภาพให้บ้าน เมืองอยู่รอดปลอดภัยได้อย่างสมดุล
มั่นคงและยั่งยืนได้ดังจะขออัญเชิญมาดังนี้
พระราชดำรัสพระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4
ธันวาคม2534 ความตอนหนึ่งว่า”…อีกอย่างหนึ่งที่จะแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้ ก็ได้พูดแล้ว…ตอนแรกได้พูดว่า คนไทยเราที่รักษาเอกราชอธิปไตยไว้ได้ ก็โดยอาศัยการที่
“รู้จักความสามัคคีและรู้จักทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายให้ประสานส่งเสริมกัน”
ความจริงเขียนไว้ว่า “รู้รักความสามัคคี”…การที่จะรู้จักสามัคคีก็ลำบากมาก เพราะคนมากๆ รู้จักกันทั่วถึงไม่ค่อยได้
แต่ “รู้ รัก สามัคคี” ควรจะใช้ได้เพราะหมายความว่า
ทุกคนถือว่าตนเป็นคนไทย มีอะไรเกิดขึ้นก็ตามทุกคนรู้ว่าต้องมีความสามัคคี “รู้” ก็คือ “ทราบ” ทราบความหมายของสามัคคี “รัก” คือ
“นิยม” นิยมความสามัคคี เพราะเหตุใดคนไทยจึง
“รู้ รักสามัคคี” ก็เพราะคนไทยนี่ฉลาดไม่ใช่ไม่ฉลาดคนไทยนี่ฉลาด
รู้ว่าถ้าหากเมืองไทยไม่ใช้ความสามัคคี ไม่เห็นอกเห็นใจกัน ไม่ใช้อะไรที่จะพอรับกันได้
พอที่จะใช้ได้ ก็คงจะไม่ได้ทำอะไร หมายความว่า ทำมาหากินก็ไม่ได้…เพราะว่า…ไม่มีความสงบ จะต้อง “รู้รัก สามัคคี” หมายความว่ารู้จักการอะลุ้มอล่วยกัน
แม้จะไม่ใช่ถูกต้องเต็มที่ คือหมายความว่าไม่ถูกหลักวิชาเต็มที่ก็จะต้องใช้เพราะว่าถ้าไม่ใช้ก็ไม่มี
อะไรใช้…อาจมีสิ่งที่มีอยู่แล้วที่จะใช้ไปได้ชั่วคราว คุณภาพอาจไม่ค่อยดีนักทุกสิ่งทุกอย่าง
ไม่มีอะไรที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ว่าจะต้องใช้อะไรที่พอใช้ได้ไปไม่อย่างนั้นไม่มีวันที่จะมีชีวิตรอด
ได้…ตอนนี้ถ้าราษฎร “รู้ รัก สามัคคี”
เขาจะเข้าใจว่าเมื่อเขามีรายได้ เขาก็จะยินดีเสียภาษี
เพื่อช่วยราชการให้สามารถทำโครงการต่อไป เพื่อความก้าวหน้าของประเทศชาติ ถ้าราษฎร “รู้รัก สามัคคี”และรู้ว่า “การเสียคือการได้”ประเทศชาติก็จะก้าวหน้า เพราะว่า การที่คนอยู่ดีมีความสุขนั้น เป็นกำไรอย่างหนึ่งซึ่งนับเป็นมูลค่าเงินไม่ได้…การปฏิบัติโดยวิธีการที่อาจ ไม่ถูกหลักวิชานัก
แต่ประกอบด้วยความเมตตาด้วยความสามัคคี คือ “รู้ รักสามัคคี”นี้เอง ก็คงจะทำให้อยู่กันได้ต่อไป…ความจริงประเทศไทยนี้ก้าวหน้ามามากแล้วและก็
ก้าวหน้ามาอย่างสม่ำเสมอ ไม่เร็ว
เกินไป
ไม่ช้าเกินไป สิ่งที่สำคัญก็คือ
ต้องใช้หลักที่พูดเมื่อวานนี้ แต่พูดผิดพลาดไป วันนี้จึงมาแก้เสียยืดยาว
แก้คำเดียว แก้คำว่า”จัก” เป็น
“รัก” หรือ “รัก”
เป็น “จัก” ก็ขอให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจว่า
เมื่อวานนี้พูดผิดยอมรับ เขียนไว้อย่างดีว่า “คนไทย รู้
รักสามัคคี” ไปพูดว่า “รู้จักความสามัคคี”
ซึ่งก็ไม่ผิดนัก แต่ “รู้รักความสามัคคี”
นั้นซึ้งกว่าเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เข้าใจว่าท่านทั้งหลายก็จะซึ้ง
และ “รู้รักความสามัคคี”…”พระราชดำรัสพระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม2521 ความตอนหนึ่งว่า”…คำว่า “สามัคคี” นี้ ขอให้วิเคราะห์ศัพท์
ว่าเป็นการกระทำของแต่ละคน ทำความดี เว้นจากความไม่ดี มีความเข้าใจซึ่งกันและกันของแต่ละบุคคล
อย่างนี้ชาติสามัคคีชาติไม่แตกสลาย คุมไว้ติด คำว่าคุมนี้อาจจะไม่ชอบกัน
เพราะเหมือนควบคุม เพราะเหมือนควบคุม เหมือนคุมขัง แต่คุมหมายความว่าอยู่ติด
อยู่เป็นชาติได้…”
พระบรมราโชวาทพระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เมื่อ
วันที่
3 สิงหาคม 2504 ความตอนหนึ่งว่า
“…สามัคคีที่สำคัญที่สุดคืออะไร ก็คือสามัคคีในชาติ
ไม่ใช่ว่าความสามัคคีในคณะไม่ดี แต่ต้องระวัง ถ้าสามัคคีกัน
แต่ว่าไปก้าวก่ายหรือไปทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ในสถาบันก็เป็นความผิด ถ้าสามัคคีในสถาบันไปทำให้คนอื่นเสียหายหรือเดือดร้อนก็ไม่ดีเพราะทำให้เสีย
หายต่อสามัคคีของชาติ…”
รัฐบาลนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้เรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท โดยตระหนักและเห็นความสำคัญของการสร้างความสามัคคี
และได้ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชาติจากทุกภาคส่วนให้มาร่วม กันแสดงความคิดเห็น
และให้ข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์ในการพัฒนาสังคมไทยให้มีความสงบสุขที่อยู่บน พื้นฐานของการให้และมีเมตตาต่อกัน
ซึ่งเป็นวัฒนธรรมพื้นฐานที่อยู่ในใจของประชาชนชาวไทยทุกคน
รัฐบาลจึงได้ริเริ่มและดำเนินการ “แผนสร้างความปรองดองแห่งชาติ” ซึ่งเป็นแผนที่รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนให้ประชาชนทุกกลุ่มเข้ามาช่วยกันแก้ไข
ปัญหาให้กับบ้านเมืองด้วยการสร้างกระบวนการการปรองดองใน 5 องค์ประกอบ
ซึ่งกระผมได้ถอดความและสรุปมาจากแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรี ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่
3 พฤษภาคม 2553 ณ ศาลากิตติสุขกรมทหารราบที่
11 รักษาพระองค์ ดังนี้
ข้อที่หนึ่ง คือ
การจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ในฐานะที่เป็นสถาบันแห่งการยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนคนไทยทั้งชาติ
ด้วยรัฐบาลเห็นว่า การจะทำให้สังคมไทยมีความเป็นปกติสุขได้นั้น ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ที่จะช่วยกันไม่ให้สถาบันพระมหากษัตริย์นั้นถูกดึงลง
มาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งนี้ แผนหรือกระบวนการของการปรองดองนั้น
คือทุกฝ่ายจะต้องมาร่วมกันทำงานเพื่อที่จะเทิดทูนเชิดชูสถาบันพระมหา กษัตริย์
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ได้ทรงอุทิศพระวรกายและเวลาแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้อง
ประชาชน ตลอดจนพระราชทานแนวพระราชดำริที่ทรงคุณค่ายิ่ง
ข้อที่สอง คือ
กระบวนการสร้างความปรองดอง ในฐานะที่เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาและปฏิรูปประเทศให้เกิดความเป็นธรรมแก่
ทุกฝ่าย นับเป็นการเรียนรู้และดำเนินตามรอยพระยุคลบาท จากการศึกษาพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทให้เห็นคุณค่าของความปรองดองกันว่า
เป็นรากฐานที่สำคัญของการรักษาเอกราชของชาติไทยดังพระราชดำรัสและพระบรม ราโชวาทที่อัญเชิญมาดังนี้
พระ ราชดำรัส
พระราชทานแก่คณะประชาชนจังหวัดราชบุรี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน
2531 ความตอนหนึ่งว่า”…บ้านเมืองไทยสามารถฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ
ได้โดยดี เพราะว่าจิตใจสามัคคีและแสดงออกซึ่งสามัคคี ถ้าตราบใดเรารักษาความสามัคคี
ความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกันไว้ได้ เราก็จะอยู่ได้อย่างมีความสุขตราบนั้น…”
พระบรมราโชวาทในพิธีสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม2522 ความตอนหนึ่งว่า
”…บรรพชนไทยเป็นนักต่อสู้ ผู้มีชีวิตจิตใจผูกพันปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสามัคคีพร้อมเพรียงกัน
ทุกเมื่อไม่ว่าจะทำการสิ่งใด บ้านเมืองไทยจึงมีเอกราชอธิปไตยและมีความสุขความสมบูรณ์ทุกอย่างมาจนกระทั่ง
ทุกวันนี้…”
ข้อที่สาม คือ
การสนับสนุนและยืนยันสิทธิเสรีภาพ ในการแสดงออกและนำเสนอข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนให้เป็นการใช้สื่ออย่างสร้าง
สรรค์ซึ่งจะสามารถทำให้สังคมของเรานั้นก้าวพ้นความขัดแย้ง และกลับมามีความปรองดอง
มีความสงบสุขได้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าในปัจจุบันจะไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและอำนาจของสื่อในการนำเสนอข่าวนั้นได้ถูกนำไปใช้เป็น
เครื่องมือในทางการเมือง อาศัยช่องโหว่ช่องว่างจากกฎหมายที่เทคโนโลยีก้าวไปไกลกว่า
รัฐก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีส่วนในการที่จะสร้างความขัดแย้ง หรือถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองก็ตาม
ข้อที่สี่ คือ
การตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาตรวจสอบ และค้นหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์และความรุนแรงต่างๆ
ที่เกิดขึ้นเพื่อที่จะให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และให้ความจริงปรากฏแก่สังคม
การทำได้เช่นนี้จำเป็นที่คณะกรรมการผู้ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบต้องยึดถือ ความสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติหน้าที่
ดังพระบรมราโชวาทพระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2497 ความตอนหนึ่งว่า
”…ข้าพเจ้า ขอฝากคติไว้เป็นเครื่องกำกับใจ มีคุณธรรมข้อหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ
คือ ความสัตย์สุจริต ประเทศบ้านเมืองจะวัฒนาถาวรอยู่ได้
ก็ย่อมอาศัยความสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐาน ท่านทั้งหลายจะต้องออกไปรับราชการก็ดี
หรือประกอบกิจการงานส่วนตัวก็ดี ขอให้มั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง 3 ประการ คือสุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชน และสุจริตต่อหน้าที่ ท่านจึงจะเป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญของมวลชนทั่วไป…ขอให้ท่านจงรำลึกถึง เกียรตินี้
และรักษาไว้ด้วยความสัตย์สุจริตให้สมกับพุทธภาษิตว่า “คนย่อมได้เกียรติคือชื่อเสียงเพราะความสัตย์”…”
ข้อที่ห้า คือ การสร้างความเป็นธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและกติกา
อันรวมถึงรัฐธรรมนูญ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายบางฉบับ และที่เกี่ยวข้องกับการลิดรอน
หรือการตัด หรือการเพิกถอนสิทธิ ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการเมือง โดยรัฐบาลได้วางกลไกที่เอื้อต่อการระดมความคิดเห็นของประชาชนจากทุกภาคส่วน
เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางการเมือง ทำให้การดำเนินการในเรื่องนี้จึงครอบคลุมประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ไปจนถึงการที่จะต้องยอมรับความผิดที่เกิดขึ้นจากการชุมนุมทางการเมืองด้วย
เพื่อเป็นการแสดงกตเวทิตาทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ให้ทรงมีพระเกษมสำราญ เป็นมิ่งขวัญและศูนย์รวมแห่งความสามัคคีปรองดองของปวงชนชาวไทยตลอดกาล
ผมขอเชิญชวนทุกท่านให้ร่วมกันปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม โดยศึกษาพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่พระราชทานเนื่องในโอกาสต่างๆ
โดยเฉพาะในเรื่องของการ “รู้ รัก สามัคคี” และ การปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละคนให้สมบูรณ์ ถวายเป็นพระราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยตลอดกาลนาน ดังพระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ทหารบก
ทหารเรือ ทหารอากาศตำรวจ และอาสาสมัครพลเรือนในพิธีตรวจพลสวนสนาม ในโอกาสงานพระราชพิธีรัชดาภิเษกเมื่อวันที่
8 มิถุนายน 2514 ความตอนหนึ่งว่า
”…ชาติบ้านเมืองประกอบด้วยนานา สถาบัน
อันเปรียบได้กับอวัยวะทั้งปวงที่ประกอบกันขึ้นเป็นชีวิตร่างกาย ชีวิตร่างกายดำรงอยู่ได้ เพราะอวัยวะใหญ่น้อยทำงานเป็นปกติพร้อมกันอย่างไร
ชาติบ้านเมืองก็ดำรงอยู่ได้เพราะสถาบันต่างๆ ตั้งมั่นและปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยพร้อมมูลอย่างนั้น…”
**********************************************
เอกสารแจกผู้เข้าอบรม
กองร้อย
ตชด. ๒๔๕ จังหวัดหนองคาย